Tuesday 21 February 2012

Digital Forensics Evidence - การรับฟังพยานหลักฐานทางดิจิทอลของศาลไทย


                      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเข้าสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมที่เราสื่อสารโดยการพึ่งพาภาษา และตัวหนังสือเป็นหลักมาเป็นการสื่อสารด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผล ปัจจุบันจึงมีการกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการพิจารณาคดี นอกจากพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล และพยานนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้แล้วในส่วนการจัดประเภทพยานหลักฐานนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แม้จะมีลักษณะเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ แต่ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพยานเอกสารและพยานวัตถุทั่วไปในการนำสืบจึงต้องมีวิธีการพิเศษโดยเฉพาะการยอมรับให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งจึงมีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อจัดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่งแล้ว ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ จะต้องมีวิธีการนำสืบและหลักในการรับฟังอย่างไร และจะนำบทตัดพยานได้แก่ หลักการรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุด และหลักการรับฟังพยานบอกเล่า มาใช้ด้วยหรือไม่กรณีของวิธีการนำสืบนั้น ควรกำหนดให้ผู้กล่าวอ้างต้องดำเนินการเหมือนกันกับพยานหลักฐานประเภทอื่น คือ ต้องยื่นบัญชีระบุพยานที่เกี่ยวข้อง  (Chain of Custody ) มีลายเซ็นผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คนรับเครื่อง คนอนุญาติ วันและเวลา มีการส่งสำเนาพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงให้แก่คู่ความอีกฝ่าย
       การรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลักกฎหมายสำคัญ 3 ประการใช้ในการพิจารณา พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถยืนยันความแท้จริง (Authentication) ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
       ความแท้จริงของเอกสารประกอบด้วย
1. เนื้อหาของเอกสารไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง
2. ข้อมูลในเอกสารเป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของผู้สร้างเอกสารนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าผู้สร้างเอกสารจะเป็นมนุษย์ หรือคอมพิวเตอร์
3. ข้อมูลพิเศษในเอกสาร อันได้แก่ วันเดือนปีที่ถูกสร้าง นั้นถูกต้อง
   
           ในปัจจุบันศาลไทยได้ให้การยอมรับและรับฟังพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ ดังเช่นในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2542 ซึ่งวางหลักว่า พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์สามารถรับฟังได้ ซึ่งอาจรับฟังได้ในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในกรณีที่มีการปรินท์ แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มานำเสนอ ซึ่งในแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานชนิดนี้ของศาลนั้นจะต้องปรากฏว่าระบบการบันทึกการสร้าง การเก็บรักษา และการเรียกข้อมูล หรือการใช้งานของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นปกติเช่นที่เคยทำมา ไม่มีสิ่งที่ผิดเพี้ยนหรือบิดเบือน ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่ามิใช่สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดีหรือการค้นหาความจริงแล้ว 

                         การใช้พยานเอกสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานต่อศาล ตาม พ.ร.บ.ศาลจะไม่ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลนั้นเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะมีความน่าเชื่อถือรับฟังในเนื้อหาสาระได้หรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของศาลซึ่งเป็นผู้รับฟังข้อมูลในการชั่งน้ำหนักพยานเอง โดยใช้หลักเกณฑ์ความน่าเชื่อถือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 10 วรรคสอง (พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ข้อเสนอแนะ จำเป็นต้อง มีการอบรมและให้ความรู้ขั้นสูงทางด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมเดิมๆ ความเคยชิน ในระบบพยานหลักฐานของไทย ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งนำไปใช้ในวิธีพิจารณาความอาญาด้วยนั้น  จะเป็นระบบของพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งมิได้ออกแบบไว้สำหรับพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ จึงควรปรับเปลี่ยนเพราะเนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับพนักงานสอบสวนตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจนถึงขั้นศาลทาง โอไร้อั้นใด้ร่วมมือกับศาลศัพท์สินทางปัญญา ศาลแพ่ง ศาลอาญา ในการให้ความสำคัญเรื่องฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จากศาลและผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวในเรื่อง Computer Forensics)  ให้พร้อมรับกับความสำคัญของการทำ Computer Forensicsและ หลักฐานทางดิจิตอลที่ได้รับการยอมรับจากศาล ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะถูกนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อปราบเหล่าอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และรูปแบบคดีก็ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ความเข้าใจและความรู้จริงด้าน Computer Forensics และ Investigations จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมสามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด
      พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตราที่7-25

 
          หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ  มีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมาย
          ไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อ ความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้วมาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 นั้นว่าเป็นของตน
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึง
           พฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
 
มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ  ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสาร
           ต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว
(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้อง ของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ
(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้
ความถูกต้องของข้อความตาม
          (3) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรอง หรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้นในการวินิจฉัยความน่าเชื่อถือของวิธีการรักษาความถูกต้องของข้อความตาม
         (1) ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง  รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการสร้างข้อความนั้นมาตรา 11 ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะ  เหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์ ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือ วิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะ หรือวิธีการรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ ข้อความ ลักษณะหรือวิธีการ ที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง
           มาตรา 12 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด ถ้าได้เก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความตามที่กฎหมายต้องการแล้ว
(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
(2) ได้เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรือ
อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ
(3) ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง และปลายทางของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือ
ได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี
          มาตรา 25 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ได้กระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้สันนิษฐานว่าเป็น   วิธีการที่เชื่อถือได้

No comments:

Post a Comment